วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนายั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนายั่งยืน
บรรยายโดย : รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ อธิการบดี

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=-SHJCtRz-3k

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านบึงนคร

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านบึงนคร หมู่ที่ 11 ตำบลบึง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่มีความสมัครสมานสามัคคี และประชาชนประกอบอาชีพที่หลากหลายสร้างราย­ได้ให้กับครอบครัว หมู่บ้านนี้มีจุดเด่น คือปลูกผักเพื่อการบริโภคและส่งจำหน่ายเกื­อบทุกหลังคาเรือน ตลอดปี ติดตามชมเพจ

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=wmJNzGd2DiI



เรื่อง วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ

ปริญญานิพนธ์ Project Animation เรื่อง วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ จัดทำโดย นางสาวจันทพิมพ์ ใจสบาย สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ แรงบันดาลใจเกิดจาก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้­าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช...ที่ทรงชีแนะ­างในการดำเนินชีวิตแก่ประชาชนชาวไทย ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจ­พอเพียง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=o8o5gqCSXW0


วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เวปไซต์แห่งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ไว้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นในด้านประวัติความเป็นมา หรือจุดเริ่มต้นที่ก่อเกิดเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมา ในด้านความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการต่างๆที่เนื่องมาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเราได้รวมเอาบุคคลตัวอย่าง ข้อสอบ บทกลอน และเรียงความเศรษฐกิจพอเพียง มาใว้ที่นี่ที่เดียว โดยเนื้อหาต่างๆดังที่กล่าวมา ท่านสามารถเลือกหาหัวข้อที่ท่านสนใจที่เมนูด้านซ้ายมือได้เลย

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง

ในส่วนของบทความเกี่ยวกับการเกษตร เราได้รวมเอาเทคนิค และวิธีการในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ทั้งในด้านการปลูกพืช และด้านการเลี้ยงสัตว์ ยกตัวอย่าง เช่น การเลี้ยงปลาดุกในบ่ซีเมนต์ การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงเป็ด การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจต่างๆ การปลูกผักหวานป่า การปลูกกล้วย การปลูกไผ่หวาน การปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึง วิธีการดูแลจัดการต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากเกษตรกรที่ได้ทดลองแล้วได้ผล หรือที่เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน เช่น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุน การทำจุลินทรีย์ในการปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนในการทำการเกษตร รวมทั้งการใช้วิธีธรรมชาติ ในการจัดการกับโรค แมลง เพื่อความสมดุลย์

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง

ในส่วนของ เวปบอร์ดนั้น จะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ของเกษตรกร และบุคคลทั่วไปที่สนใจในด้านการเกษตร ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งจะมี ในส่วนของการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าเกษตร เช่น ขายเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น และในส่วนเวปบอร์ด นี้จะจัดให้มีส่วน ความรู้ทั่วๆไป ข่าวสาร และในส่วนของการสนทนาทั่วๆไป เพื่อความเป็นกันเองของท่านสมาชิก และถ้าสมาชิกท่านใด ต้องการในส่วนใหนเพิ่มเติม ก็ส่งข้อความมาหาเวปมาสเตอร์ได้เลย

เนื้อหาสาระเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง และในส่วนอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อความสะดวกในการค้นหา ท่านสามารถเลือกอ่านได้ที่ เมนูด้านซ้ายมือได้เลย
ที่มา เศรษฐกิจพอเพียง.net

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์


ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อ
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ชนิดของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

การ<wbr>แบ่ง<wbr>ชนิด<wbr>ของ<wbr>ซอฟต์แวร์<wbr>

ซอฟท์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
  1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
  2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
  3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น


ซอฟท์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน